การสอบสวนอุบัติเหตุ

หลักสูตรการสอบสวนอุบัติเหตุ
หลักการเหตุผล
               การดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ปัจจุบันมีความสำคัญยิ่ง งานด้านความปลอดภัยจะประสบความสำเร็จได้ องค์กรต้องมีมาตรฐานการปฏิบัติงานที่ชัดเจน เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติที่เหมือนกันและป้องกันการเกิดอุบัติเหตุและอุบัติการณ์อีกด้วย แต่เนื่องจากที่ทุกองค์กรยังขาดซึ่งมาตรฐานการปฏิบัติงาน     จึงเกิดการปฏิบัติงานที่ต่ำกว่ามาตรฐาน หรือเกิดจากการกระทำที่ไม่ปลอดภัย ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุถึงกว่า 80%
               การสอบสวนอุบัติเหตุ อุบัติการณ์เป็นการชี้บ่งถึงสาเหตุ และลักษณ์ของการเกิดอุบัติเหตุ ถ้าหากพิจารณาจากรายละเอียดข้อมูลที่ได้จากการตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุจริง และจากพยานที่เห็นเหตุการณ์แล้วนำมาวิเคราะห์หาสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้น


วัตถุประสงค์
                การสอบสวนการเกิดอุบัติเหตุ มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบและวิเคราะห์หาสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุแล้วนำมาจัดทำมาตรการป้องกัน หรือแผนการปรับปรุงแก้ไขการดำเนินงานนั้น เพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุในลักษณะเดียวกันขึ้นซ้ำอีก
                1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ และทราบถึงขั้นตอนการสอบสวน รายงาน และวิเคราะห์อุบัติเหตุที่เกิดขึ้น
                2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเข้าใจถึงวิธีการจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงานที่ปลอดภัย
                3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมหาแนวทางการป้องกันอุบัติเหตุได้อย่างถูกต้อง


ประโยชน์ที่ได้รับจากการอบรม
1. กฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง
2. รู้หน้าที่ / เทคนิคการสอบสวนอุบัติเหตุ อุบัติการณ์
3. สามารถวิเคราะห์หาสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ
4. นำมาตรการในการป้องกัน ควบคุม มาจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงาน
5. สามารถการบันทึก และการรายงานอุบัติเหตุ อย่างมีประสทธิภาพ

ระยะเวลาในการอบรม : 1 วัน (6 ชั่วโมง)
วิธีการอบรม : บรรยาย , Workshop
หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ : จป. / หัวหน้างาน / คณะกรรมการความปลอดภัย / และพนักงานทั่วไป

 

หลักสูตรการสอบสวนอุบัติเหตุ
กำหนดการและหัวข้ออบรม

เวลา                                                        หัวข้อรายละเอียด

08.30 น. - 09.00 น.                                ลงทะเบียนผู้เข้ารับการฝึกการอบรม ทดสอบก่อนการอบรม

09.00 น. – 10.30 น.                               - กฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง

- นิยามและคำจำกัดความเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน

- สาเหตุของการเกิดอุบัติการณ์ อุบัติเหตุ และความสูญเสียของการเกิดอุบัติเหตุ

10.30 น. – 10.45 น.                                พักเบรคช่วงเช้า

10.45 น. – 12.00 น.                                Workshop

หน้าที่ของผู้สอบสวนอุบัติเหตุ/ เทคนิคการสอบสวนอุบัติเหตุ อุบัติการณ์

12.00 น. – 13.00 น.                                พักรับประทานอาหารเที่ยง

  1. 00 น. – 14.45 น.                                การวิเคราะห์หาสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ

Workshop มาตรการในการป้องกัน ควบคุม และจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงาน

14.45 น. – 15.00 น.                                พักเบรคช่วงบ่าย

15.00 น. – 16.30 น.                                Workshop การบันทึก และการรายงานอุบัติเหตุ ตามแบบฟอร์มของบริษัทฯ

   

Workshop (Accident Investigation)

  1. สารเคมีกระเด็นเข้าดวงตา
  2. เครื่องจักรตัดนิ้ว
  3. MDB ระเบิด
  4. ลื่นหกล้มบริเวณทางเดิน
  5. ตู้เอกสารล้มทับพนักงาน

 

Visitors: 5,254