KYTการฝึกการหยั่งรู้ระวังอันตราย
หลักสูตร KYT การหยั่งรู้ระวังอันตราย
KYT : Kiken Yochi Training
หลักการและเหตุผล
จุดเริ่มต้น... ของอุบัติเหตุในการทำงาน... HUMAN ERROR !!! จะต้องแก้ไขอย่างไร? โดยเฉพาะพฤติกรรมการทำงานที่... เสี่ยงไม่ปลอดภัยของพนักงาน เช่น เผอเรอ เหม่อลอย ซุ่มซ่าม ลัดขั้นตอน รีบเร่ง อันเป็นเหตุของการผิดพลาด และเกิดการสูญเสียจากการทำงานทั้งสิ้น
จุดแข็งของทีมงาน จุดแข็งของสายการผลิต จุดแข็งขององค์กร คือการปฏิบัติงานโดยปราศจากอุบัติเหตุ!! เพราะ..องค์กรใด ? ที่ปลอดภัยจากอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงาน จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทางการแข่งขันเหนือกว่าคู่แข่ง !!"
อุบัติเหตุต่างๆ...การเสียชีวิต...ทุพพลภาพ นั้น ท่านรู้หรือไม่? ว่า นอกจากสร้างความเสียหายให้กับตัวพนักงานและองค์กร แล้วยัง...บั่นทอนความรู้สึก จิตใจ สุขภาพของคนงาน ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง เพราะฉะนั้น...ควรป้องกันตั้งแต่ต้นเหตุ!!
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีจิตสำนึกว่าความปลอดภัยในการทำงานเป็นสิ่งที่จะต้องตระหนักก่อนการทำงานและต้องระลึกถึงอยู่เสมอในขณะที่ทำงาน เพื่อความปลอดภัยของตนเอง เพื่อนร่วมงาน ผู้ใต้บังคับบัญชาผู้บังคับบัญชา บุคคลภายนอกและทรัพย์สินขององค์กร
2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ทราบถึงความสูญเสียและผลกระทบอย่างมหาศาลจากการเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงในแต่ละครั้ง
3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการอบรมไปประยุกต์ใช้ในการทำงานจริง
4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรม ตระหนักเรื่องความปลอดภัย คิดและทำ ด้วยตัวเอง
หัวข้อการบรรยาย
● ความหมาย ประวัติ ความเป็นมา กิจกรรม KYT การฝึกการหยั่งรู้ระวังอันตราย
● วัตถุประสงค์และประโยชน์ของการหยั่งรู้ระวังอันตราย KYT
● หลักในการทำงานให้อุบัติเหตุเป็นศูนย์ ( ZERO ACCIDENT )
● ความหมายและคำจำจัดความด้านอาชีวอนามัยและ ความปลอดภัย Incident , Near miss , Accident
● การสร้างจิตสำนึกความปลอดภัยในการทำงาน
● ความสูญเสียและผลกระทบจากอุบัติเหตุ ( Accident )
● สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ และผลกระทบที่เกิดขึ้น
● ประเภทของ KYT ที่นิยมใช้อยู่ในปัจจุบัน
● ขั้นตอนและวิธีการ ทำ KYT 4 ยก ค้นหาอันตราย วิเคราะห์ ว่ามีกิจกรรมใดบ้าง? และจะต้องปฏิบัติอย่างไร? ถึงจะปลอดภัย " มือชี้ ปากย้ำ" เตือนสติ ก่อนปฏิบัติงาน การระดมสมอง
- Work Shop : ทำร่วมกันเป็นกลุ่ม ร่วมค้นหาอันตราย ทำ KYT จากภาพหรืออุบัติเหตุที่เคย เกิดขึ้น
รูปแบบการอบรม : บรรยาย 30 % Workshop 70%
ผู้เข้าอบรม : ผจก. หน.แผนก หน.งาน วิศวกร / จนท. และพนักงานทุกหน่วยงาน
ระยะเวลาอบรม : 6 ชั่วโมง