PPE การใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล

หลักสูตร การใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล PPE

หลักการและเหตุผล

สถิติอุบัติเหตุ ในปี 2551 พบผู้ประสบอันตรายจากวัสดุหรือสิ่งของ จำนวน 82,068 คน, เครื่องจักร จำนวน 23,427 คน, เครื่องมือ จำนวน 22,249 คน, สภาพแวดล้อมเกี่ยวกับการทำงาน จำนวน 13,448 คน และยานพาหนะ จำนวน 8,855 คน ตามลำดับ

จากสถิติการเกิดอุบัติเหตุดังกล่าวมีสาเหตุมาจาก 1) สาเหตุที่เกิดจากคน (Human Causes) มีจํานวนสูงที่สุด 88 เปอร์เซ็นต์ของการเกิดอุบัติเหตุ ตัวอย่างเช็น การทํางานที่ไม่ถูกต้อง ความพลั้งเผลอ ความประมาท การมีนิสัยชอบเสี่ยงในการทํางาน เป็นต้น 2) สาเหตุที่เกิดจากความผิดพลาดของเครื่องจักร (Mechanical failure) มีจํานวนเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ของการเกิดอุบัติเหตุตัวอย่าง เช่น ส่วนที่เป็นอันตรายของเครื่องจักรไม่มีเครื่องป้องกัน เครื่องจักรเครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ชํารุดบกพร่อง รวมถึงการวางผังโรงงานไม่เหมาะสม สภาพแวดล้อมในการทํางานไม่ปลอดภัย เป็นต้น 3) สาเหตุที่เกิดจากชะตา (Acts of God) มีจํานวนเพียง 2 เปอร์เซ็นต์ของการเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งเป็นสาเหตุที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาตินอกเหนือการควบคุม เช่น พายุ น้ําท่วม ฟ้าผ่า เป็นต้น (H.W. Heinrich, 1920) โดยสาเหตุดังกล่าวสามารถดำเนินการป้องกันได้ดังตัวอย่างนี้ 1) Education ให้ความรู้แก่บุคลากรทุกระดับชั้น ตั้งแต่ผู้บริหารไปจนถึงพนักงานระดับล่าง 2) Equipment อุปกรณ์ต้องมีพร้อมและได้มาตรฐาน 3) Enforcement มีกฎเกณฑ์ระเบียบบังคับ และสามารถควบคุมให้เกิดการปฏิบัติได้อย่างจริงจัง (วิฑูรย์ สิมะโชคดี)

ดังนั้นเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานมีความรู้ความเข้าใจและความตระหนักในการทำงานที่ปลอดภัย กิจการหรือสถานประกอบกิจการควรดำเนินการจัดฝึกอบรม หลักสูตร อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment: PPE) ให้กับลูกจ้างที่ปฏิบัติงานที่มีความเสี่ยง เพื่อสร้างความตระหนักในการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันภัย และความเข้าใจในหลักการปฏิบัติที่งานที่ถูกต้องปลอดภัย

วัตถุประสงค์

1) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความตระหนักในการสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล

2) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจสามารถเลือกใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

3) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยได้อย่างถูกต้อง ตามหลักวิธีการสวมใส่

4) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถดูและบำรุงรักษาอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลได้อย่างถูกต้อง

รูปแบบการอบรม :  บรรยาย 60  % Workshop  40%

ผู้เข้าอบรม   :  หน.แผนก , หน.งาน , จนท. และ พนักงานทุกหน่วยงาน

ระยะเวลาอบรม  :  3 ชั่วโมง ( 08:00 น – 12:00 น. ) เบรค 10:30 - 10:45 น. , ( 13:00 น – 16:00 น. )  , เบรค 14:30 – 14:45 น.

วิทยากร   :  อ.ชาติชาย   แสงทับทิม  (ที่ปรึกษาด้านความปลอดภัย ชมรม จป.พระนครศรีอยุธยา , เลขาฯชมรม จป. ภาคกลางตอนบน)

 

 

กำหนดการอบรม

 เวลา                                                                        รายละเอียด

09:00-10:30 น.       (เช้า)                                        ภาคทฤษฎี

(1) ความหมาย สาเหตุที่ต้องใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล

(2) กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

(3) ชนิดของอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล

(4) วิธีการเลือกอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล

10:30-10:45 น.                                                       พักเบรก

10:45-12:.00 น.                                                      (5) การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล

(6) Workshop เกี่ยวกับ PPE ชนิดต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลของระบบหายใจ อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลของการได้ยิน อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลของศีรษะ ใบหน้าและดวงตา มือและแขน เท้า

(7) การบำรุงรักษาอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล

13.00-14.30 น.   (บ่าย)                                           ภาคทฤษฎี

(1) ความหมาย สาเหตุที่ต้องใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล

(2) กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

(3) ชนิดของอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล

(4) วิธีการเลือกอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล

14.30-14.45 น.                                                       พักเบรค

14.45-16.00 น.                                                       (5) การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล

(6) Workshop เกี่ยวกับ PPE ชนิดต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลของระบบหายใจ อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลของการได้ยิน อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลของศีรษะ ใบหน้าและดวงตา มือและแขน เท้า

(7) การบำรุงรักษาอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล

Visitors: 5,254