หลักสูตร : การยศาสตร์เพื่อความปลอดภัย
( Ergonomics for Occupational Health and Safety )
หลักการและเหตุผล
การยศาสตร์ (Ergonomics)เป็นการประยุกต์ใช้วิชาการทางด้านชีววิทยาของมนุษย์และวิศวกรรมศาสตร์ให้เข้ากับคนงานและ สิ่งแวดล้อมในการทำงานของเขา เพื่อให้คนงานเกิดความพึงพอใจในการทำงาน และได้ผลผลิตสูงสุด จึงเกี่ยวข้องกับการปรับ งานให้เข้ากับความสามารถทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ รวมทั้งข้อจำกัดของคนงาน การเรียนรู้ความสามารถ และข้อจำกัดของมนุษย์ เพื่อใช้ประโยชน์ในการออกแบบทางวิศวกรรม เช่น เครื่องมือ เครื่องจักร อาคาร ผลิตภัณฑ์ สภาพแวดล้อม รวมถึงการออกแบบลักษณะ และวิธีการทำงาน ให้เกิดความเหมาะสมกับมนุษย์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ให้มากที่สุด เพื่อให้มนุษย์สามารถทำงานได้ดีขึ้น เร็วขึ้น และมีความปลอดภัยมากขึ้น การใช้การยศาสตร์จึงส่งผลเพิ่มผลผลิตและอาชีวอนามัยความปลอดภัย อันจะส่งผลต่อประสิทธิภาพของ บุคลากรและองค์กรต่อไป
วัตถุประสงค์
1. ผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้ ความเข้าใจในหลักการด้านการยศาสตร์กับการทำงานเพื่อเพิ่มผลผลิต อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน
2. ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้หลักการของการยศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ปรับปรุงสถานที่และสภาพแวดล้อม ในการทำงาน
3. ผู้เข้าอบรมทราบหลักการในการควบคุมและป้องกันปัญหาด้านการยศาสตร์
หัวข้อการบรรยาย
หัวข้อที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ การยศาสตร์
• การยศาสตร์ คืออะไร
• การยศาสตร์ เกี่ยวกับเราอย่างไร
• องค์ประกอบของการยศาสตร์
หัวข้อที่ 2 ปัจจัยด้านการยศาสตร์ที่ส่งผลกระทบต่อผู้ปฏิบัติงานและประโยชน์ของการจัดทำระบบ
การยศาสตร์ในการทำงาน
หัวข้อที่ 3 ข้อกำหนดและมาตรฐานที่เกี่ยวกับการยศาสตร์
หัวข้อที่ 4 การวิเคราะห์ปัญหาทางด้านการยศาสตร์
หัวข้อที่ 5 การค้นหา ปัญหาการยศาสตร์ในการทำงาน ( Workshop )
หัวข้อที่ 6 การป้องกันปัญหาทางด้านการยศาสตร์
หัวข้อที่ 7 การประเมินท่าทางการทำงานแบบ REBA ( Workshop)
หัวข้อที่ 8 แนวทางบริหารจัดการและแก้ไขปัญหาทางด้านการยศาสตร์
• ท่าทางการปฏิบัติงาน
• ท่าการออกกำลังกายและการบริหารร่างกาย
• การออกแบบพื้นที่ทำงาน เพื่อให้เหมาะสมตามหลักการยศาสตร์
รูปแบบการอบรม : บรรยาย 60 % Workshop 40 %
ผู้เข้าอบรม : ผู้บริหาร ผจก. หน.แผนก หน.งาน วิศวกร / จนท. และพนักงานทุกหน่วยงาน
ระยะเวลาอบรม : 1 วัน ( 6 ชั่วโมง )
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้หลักการของกายศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ปรับปรุงสถานที่และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
2. ผู้เข้าอบรมปรับเป็นแนวทางและสงเสริมสุขภาพของตัวเองที่อาจเกิดจากการทำงาน ท่าทาง การยก การเคลื่อนไหวร่างกายที่ผิดหลักการยศาสตร์ให้ถูกวิธี
3. ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้หลังจากการอบรมไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาสถานประกอบการ
&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&