JSA เทคนิคการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย
หลักสูตร เทคนิคการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัยสู่คู่มือความปลอดภัย
(JSA : JOB SAFETY ANALYSIS TO SWI )
หลักการและเหตุผล
การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย เป็นวิธีการค้นหาอันตรายที่มีอยู่ในแต่ละขั้นตอนของการทำงาน กำหนดมาตรป้องกันและปรับปรุงให้เหมาะสม เพื่อนำไปเป็นคู่มือหรือมาตรฐานการปฏิบัติงานให้มีความปลอดภัย ที่จะใช้วิเคราะห์งานที่เกิดอุบัติเหตุบ่อย ๆ หรือรุนแรง ขั้นตอนทำงานที่ยุ่งยาก เป็นงานใหม่เครื่องจักรใหม่หรือมีผู้ปฏิบัติงานมาก
ดังนั้นในหลักสูตรนี้ จึงเน้นสร้างเข้าใจการปฏิบัติงานที่ถูกต้อง ปลอดภัยให้สอดคล้องกับขั้นตอนการทำงาน หลักการทั้งหมด เพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจ อย่างเฉพาะเจาะจงให้กับหัวหน้างาน ผู้จัดการ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในกรทำงานระดับวิชาชีพ และผู้ที่เกี่ยวข้องในการกำหนด และปฏิบัติตามมาตรฐานการทำงานอย่างปลอดภัย
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจขั้นตอนการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย
2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้เข้าใจขึ้นเกี่ยวกับงาน อันตราย และวิธีปฏิบัติที่ปลอดภัย
3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำไปกำหนดมาตรการป้องกันอันตรายในการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัยมากขึ้น
4. ทำให้มีแนวคิดในการปรับปรุงสภาพการทำงาน วิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากขึ้น
5. เพื่อลดการสูญเสียจากอุบัติเหตุ บาดเจ็บ เจ็บป่วยในการทำงานและเพิ่มผลผลิตให้แก่องค์กร
หัวข้อการฝึกอบรม
หัวข้อที่ 1 ความสำคัญของการจัดการทำคู่มือความปลอดภัยในการทำงาน
หัวข้อที่ 2 ความหมายและคำจำจัดความด้านอาชีวอนามัยและ ความปลอดภัย Incident , Near miss , Accident
หัวข้อที่ 3 สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ และผลกระทบที่เกิดขึ้น
หัวข้อที่ 4 การค้นหาอันตราย และหามาตรการป้องกันแก้ไข ปรับปรุง
● Workshop : ค้นหาอันตรายจากภาพการทำงานในโรงงาน
หัวข้อที่ 5 กรณีศึกษาอุบัติเหตุในการทำงานที่เกิดขึ้น แล้วหามาตรการป้องกันแก้ไข
● Workshop : แบ่งกลุ่มระดมสมองหามาตรการป้องกัน แก้ไข
หัวข้อที่ 6 การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย สู่การทำคู่มือความปลอดภัย (JSA To SWI ) ขั้นตอนและวิธีการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย ว่ามีกิจกรรมใดบ้าง ? และจะต้องปฏิบัติอย่างไร ?
● ก่อนลงมือดำเนินการวิเคราะห์
- รวบรวมงานทั้งหมดที่รับผิดชอบ
- เลือกงานที่จะวิเคราะห์
- เลือกผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง
● การดำเนินการวิเคราะห์
- เลือกขั้นตอนการทำงานที่จะวิเคราะห์
- ค้นหาอันตรายแต่ละขั้นตอนการทำงาน โดย P-E-M-E
- กำหนดวิธีการป้องกันและการปรับปรุง
● ดำเนินการตามมาตรการป้องกันและปรับปรุง
● ทบทวนการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัยเป็นระยะ
● Workshop : แบ่งกลุ่ม ระดมสมอง ทำ JSA แต่ละแผนก พร้อมนำเสนอ
หัวข้อที่ 7 ขั้นตอนการทำคู่มือความปลอดภัยหรือมาตรฐานวิธีการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย ( Safety Standard Operation Procedure : SSOP ประกอบด้วย 3 ส่วนสำคัญ คือ
● ก่อนปฏิบัติงาน
● ขณะปฏิบัติ
● หลังปฏิบัติงาน
Workshop : แบ่งกลุ่ม ทำเป็นคู่มือความปลอดภัย พร้อมนำเสนอ
รูปแบบการอบรม: บรรยาย 60 % Workshop 40 %
กลุ่มเป้าหมาย : พนักงาน หัวหน้างาน และผู้บริหาร
ระยะเวลาการอบรม: จำนวน 1 วัน ( 6 ชั่วโมง )
จำนวนผู้เข้าอบรม : 30-40 คน/รุ่น
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- ผู้เข้ารับการอบรมได้เข้าใจขึ้นเกี่ยวกับงาน อันตราย และวิธีปฏิบัติที่ปลอดภัย
- ผู้เข้าอบรมได้ร่วมกันเขียนคู่มือความปลอดภัย อย่างเป็นระบบ เป็นขั้นตอน และถูกต้อง
- ทำให้มีแนวคิดในการปรับปรุงสภาพการทำงาน วิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพ และปลอดภัยมากขึ้น เพื่อลดการสูญเสียจากอุบัติเหตุ และเพิ่มผลผลิตให้แก่องค์กร