การเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บสถานการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ
หลักสูตร การเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บสถานการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ
หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันกลุ่มแรงงานทั้งในและนอกระบบของประเทศไทย เคยประสบอันตรายหรือเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานคิดเป็น ร้อยละ 13.28 ของแรงงานทั้งหมดทั่วประเทศ โดยแบ่งความถี่ของการเกิดอุบัติเหตุตามลักษณะการบาดเจ็บจากมากไปน้อย ได้ดังนี้ 1) ของมีคมบาด/ทิ่ม/แทง, 2) พลัดตกหกลิ้ม, 3) การชน/กระแทก โดยวัสดุ, 4) ถูกไฟ/น้ำร้อนลวก, 5) อุบัติเหตุจากยานพาหนะ, 6) ได้รับสารเคมี, 7) ไฟฟ้าช็อต และ 7) อื่นๆ ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาถึงความรุนแรงของการเกิดอุบัติเหตุพบว่า การประสบอันตรายหรือการเจ็บป่วยส่วนใหญ่ หยุดงานไม่เกิน 3 วัน คิดเป็นร้อยละ 68.61 รองลงมา ได้แก่หยุดงาน 3 วัน คิดเป็นร้อยละ 28.08 และเสียชีวิต คิดเป็นร้อยละ 0.57 (สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค, 2556)
การประสบอันตรายหรือการเกิดอุบัติเหตุของแรงงาน นอกจากความสูญเสียที่เกิดกับพนักงานแล้วนั้น ยังส่งผลต่อองค์กร ทั้งทางตรงและทางอ้อม อันได้แก่ ค่ารักษาพยาบาล, ค่าเงินทดแทน, การสูญเสียเวลา จากการช่วยเหลือปฐมพยาบาลเบื้องต้น รวมไปถึง ค่าทำขัวญ ค่าทำศพ และค่าประกันชีวิต เป็นต้น ทั่งนี้หน่วยงาน องกรค์ต่างๆ สามารถลดความรุนแรงความสูญเสียดังกล่าวนี้ได้โดยการให้การช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ประสบอันตรายอย่างถูกต้องและทันท่วงที รวมถึงการส่งต่อผู้บาดเจ็บไปยังแพทย์หรือสถานพยาบาลได้อย่างเหมาะสม รวดเร็ว ซึ่งจะส่งผลให้ผู้บาดเจ็บมีโอกาสรอด และสามารถกลับเข้ามาปฏิบัติงานได้เป็นปกติในไม่ช้า
ดังนั้นการอบรมหลักสูตรการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บสถานการณ์ฉุกเฉินให้กับพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ภายในองกรค์จึงเป็นสิ่งที่สําคัญอีกทั้งยังเป็นการปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนดตาม กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทางานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. ๒๕๕๕ ข้อ 28 (2) ระบุให้ต้องจัดให้ผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัยรับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย การใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในการดับเพลิง การปฐมพยาบาล และการช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉินซึ่งการฝึกอบรมจะทําให้ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้ที่ถูกต้องและได้รับการฝึกฝนจนชํานาญ สามารถ นําความรู้และทักษะที่ได้จากการอบรมไปใช้ประโยชน์ในการช่วยเหลือผู้อื่นได้ในภาวะฉุกเฉิน ก่อนนําส่งสถานพยาบาลต่อไป
วัตถุประสงค์
1) เพื่อยกระดับมาตรฐานของทีมเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บ อย่างถูกต้องอย่างปลอดภัย
2) เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการอบรมสามารถช่วยเหลือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ หรือเจ็บป่วยให้พ้นจากอันตรายได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพก่อนนําส่งโรงพยาบาล
3) เพื่อลดความรุนแรงและความสูญเสียที่เกิดขึ้นจากการประสบอันตราย
4) เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
หัวข้อการบรรยาย
- หลักการเคลื่อนย้าย
- การยกและย้ายผู้ช่วยเหลือคนเดียว , 2 คน
- การพยุงเดินโดยช่วยเหลือ 2 คน
- การยกและย้ายผู้ช่วยเหลือ 3 คน , 4 คนหรือมากกว่า
- การจัดท่าผู้บาดเจ็บในการใช้ปฏิบัติ
- การจัดท่าเพื่อเตรียมเคลื่อนย้าย
- การจัดท่าเพื่อนอน ฟักฟื้น
- ประเภทของการเคลื่อนย้าย
- การเคลื่อนย้ายแบบเร่งด่วน
- การเคลื่อนย้ายแบบฉุกเฉิน
- การเคลื่อนย้ายแบบใช้อุปกรณ์
- เก้าอี้ล้อเลื่อน
- เปลล้อเลื่อน
- เปลกระดาน
- การปฏิบัติการช่วยเหลือเหตุการณ์ฉุกเฉินต่างๆ
คุณสมบัติผู้เข้าอบรม
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย, ทีมปฐมพยาบาล,ทีมฉุกเฉิน ,หัวหน้างาน, พนักงานบริษัท
จำนวนผู้เข้าอบรม/รุ่น จำนวน 1-40 ท่าน/รุ่น
วิธีการฝึกอบรม บรรยาย / กรณีศึกษา / ฝึกภาคปฏิบัติ
วิธีการประเมินผลและเกณฑ์การวัดผล - ระยะเวลาเข้ารับการฝึกอบรม 100% จำนวน 6 ชั่วโมง
วิทยากร : อ.สุวรรณชัย ออสุวรรณ (หัวหน้าป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ที่ บางกระเจ้า) , (ครูฝึกนักดับเพลิง)
กำหนดการอบรม
เวลา หัวข้อ
09:00-10:30 น. หลักการเคลื่อนย้าย
การยกและย้ายผู้ช่วยเหลือคนเดียว , 2 คน
การพยุงเดินโดยช่วยเหลือ 2 คน
การยกและย้ายผู้ช่วยเหลือ 3 คน , 4 คน หรือมากกว่า
10:30-10:45 น. เบรค
10:45-12:00 น. การจัดท่าผู้บาดเจ็บในการใช้ปฏิบัติ
การจัดท่าเพื่อเตรียมเคลื่อนย้าย
การจัดท่าเพื่อนอน ฟักฟื้น
13:00-14:30 น. ประเภทของการเคลื่อนย้าย
การเคลื่อนย้ายแบบเร่งด่วน
การเคลื่อนย้ายแบบฉุกเฉิน
14:30-14:45 น. เบรค
14:45-16:00 น. การเคลื่อนย้ายแบบใช้อุปกรณ์
เก้าอี้ล้อเลื่อน
เปลล้อเลื่อน
เปลกระดาน
การปฏิบัติการช่วยเหลือเหตุการณ์ฉุกเฉินต่างๆ